จัดทำโดย
ด.ช.สิรภัทร ทหราวานิช เลขที่6
ด.ญ.ณฐิกานต์ จิตจำนงค์ เลขที่9
ด.ญ.ธนัญญา จันทร์อุไร เลขที่10
ด.ญ.ธนิษฌา สุภากุล เลขที่11
ด.ญ.บุญยอร แป้นไผ่ เลขที่12
ด.ญ.พรชนัน ศรีไพร เลขที่14
ด.ญ.มาริสา ชาญเสนะ เลขที่18
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3/2
ทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งที่มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมี ความสมบูรณ์ของป่าไม้ แหล่งนํ้า ดิน และแร่ โดยเฉพาะทางธรณีวิทยาของเขตที่สูงด้าน ตะวันตกเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่นานาชนิด ทั้งเหล็ก เงิน ทองคํา ทองแดง ทองแดงและดีบุก รวมทั้งแหล่งน้ำมันปิโตรเลียมในทะเลสาบมาราไคโบ
![]() |
แหล่งน้ำมันปิโตรเลียมในทะเลสาบมาราไคโบ ที่มา http://www.marinerthai.net/forum/index.php?topic=3099.0 |
การนําทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ
และการนำสิ่งแวดล้อมไปใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรม ยังขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเนื่องจากความจํากัดของลักษณะภูมิประเทศ
แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังมีปัญหาในบางพื้นที่ เนื่องจากพื้นฐานของประชากรส่วนใหญ่ในแต่ละประเทศยังใช้ชีวิตเรียบง่าย ขาดความรู้และวิทยาการที่ทันสมัยจึงเหมาะสมในการดําเนินการด้านต่างๆ ทั้งการผลิต การบริการและการจัดการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
บางพื้นที่ยังมีการทําลายป่าไม้เป็นบริเวณกว้างเพื่อใช้พื้นที่ในการเพาะปลูก เช่น บริเวณป่าดิบลุ่มแม่นํ้าแอมะซอนในบราซิล
|
![]() |
รถยนต์ในประเทศบราซิล ที่มาhttp://autoszanet.com/fiat-plan/planes-comenzados/mobi-1.0-easy2/ |
2.การลดอัตราการทำลายพื้นที่ป่าฝนประเทศต่างๆ ในทวีปอเมริกาใต้ที่เป็นพื้นที่ของป่าแอมะซอนมีความพยายามในการลดอัตราการตัดไม้ทำลายป่า ด้วยการไม่ขยายเข้าไปอยู่ในพื้นที่ป่าและไม่ปรับสภาพพื้นที่ป่าเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และการสนับสนุนระบบเกษตรอินทรีย์
3.บทบาทของทวีปอเมริกาใต้ในการลดภาวะโลกร้อน ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา
ทำให้แนวทางในการลดภาวะโลกร้อนยังต้องได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
(GEF) ประเทศบราซิลเป็นประเทศที่มีโครงการที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนมากที่สุด
และเป็นประเทศเดียวในทวีปที่มีการบังคับใช้กฎหมายการใช้พลังงานทดแทนในระดับประเทศ
ในปี ค.ศ. 2009
หลังการประชุมเจรจาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศบราซิลได้ตกลงที่จะลดอัตราการทำลายพื้นที่ป่าแอมะซอน
และลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 39 ภายใน ค.ศ. 2020
ทั้งนี้ในทวีปอเมริกาใต้มีเพียงประเทศซูรินาเมเท่านั้นที่ไม่รับพิธีสารเกียวโต
ขณะที่ประเทศบราซิลมีบทบาทในการลดภาวะโลกร้อนบนเวทีโลกมากที่สุดในทวีป
4.การประชุมร่วมกันที่บราซิล
และเป็นโครงการต่อเนื่องไปยังการประชุมที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในเวลาต่อมาด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น